เดอะวอลท์ดิสนีย์
บริษัทเดอะวอลท์ดิสนีย์ (อังกฤษ: The Walt Disney Company- NYSE: DIS)
หรือรู้จักกันในชื่อ ดิสนีย์ (Disney)
บริษัทสื่อและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลต์ ดิสนีย์ และพี่ชาย รอย ดิสนีย์ โดยเริ่มก่อตั้งจากการเป็นสตูดิโอทำภาพยนตร์การ์ตูนในฮอลลีวูด และขยายกิจการเพิ่มเติมโดยในปัจจุบันมีสวนสนุก 11 แห่ง และสถานีโทรทัศน์หลายสถานี รวมถึง เอบีซี และ อีเอสพีเอ็น สำนักงานใหญ่ของดิสนีย์ตั้งอยู่ที่ วอลท์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ที่เมืองเบอร์แบงก์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งดิสนีย์ได้เข้าสู่เป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2534สัญลักษณ์ทางการของดิสนีย์คือ มิกกี เมาส์
ประวัติ
เดอะวอลท์ดิสนีย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)
ในชื่อ "ดิสนีย์บราเธอส์คาร์ตูนสตูดิโอ" (Disney
Brothers Cartoon Studio) โดยสองพี่น้องดิสนีย์ วอลท์ ดิสนีย์ และ รอย ดิสนีย์ หลังจากที่ทั้งคู่ได้ทำสัญญากับ เอ็ม. เจ. วิงเกลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในฮอลลีวูด โดยซ็นสัญญาการ์ตูนชุด อลิซคอเมดีส์ (Alice
Comedies) ที่วอลท์ได้เริ่มทำเมื่อสมัยที่ทำภาพยนตร์ที่แคนซัสซิตี หลังจากบริษัทก่อตั้งได้ระยะหนึ่ง
บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ" (Walt Disney
Studio) หลังจากสี่ปีที่ได้เปิดบริษัทมา วอลท์มีไอเดียสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่
ซึ่งได้แก่ ออสวอลด์ เดอะ
ลักกีแรบบิต (Oswald the Lucky Rabbit) แต่ทว่าเมื่อผ่านไปหนึ่งปี
ทางผู้จัดจำหน่ายได้หยุดการให้ทุนวอลท์ดิสนีย์ แต่ได้นำตัวละครออสวอลท์ไปสร้างต่อกับบริษัทอื่นแทน ทำให้วอลท์จำเป็นต้องหาทุนถ่ายทำใหม่รวมถึงสร้างตัวละครการ์ตูนขึ้นมาใหม่
วอลท์ได้นำหนูมาเป็นตัวละครและตั้งชื่อให้ว่า มอร์ติเมอร์ (Mortimor) แต่ภรรยาของเขาแนะนำให้ใช้ชื่อ มิกกี (Mickey) แทน
ซึ่งในตอนที่สามของการ์ตูนชุดในชื่อ สตีมโบตวิลลี (Steamboat Willie) นี้ วอลต์ได้นำเสียงประกอบมาใช้ในการ์ตูน และ ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่โรงละครโคโลนีในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการต้อนรับมากมายจากผู้ชมและนักวิจารณ์
ซึ่งเป็นก้าวแรกของความสำเร็จของวอลท์ดิสนีย์ ต่อมาวอลท์ได้สร้างการ์ตูนชุดใหม่ในชื่อ ซิลลีซิมโฟนีส์ (Silly
Symphonies) โดยฟลาเวอรส์แอนด์ทรีส์ในชุดนี้เป็นการ์ตูนรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ ในปี พ.ศ. 2498 วอลท์ได้เปิดสวนสนุกในชื่อดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต
หน่วยงานที่อยู่ในการครอบครองของดิสนีย์
สตูดิโอเพื่อความบันเทิง
ดิสนีย์เป็นเจ้าของสตูดิโอเหล่านี้จนถึง ปี ค.ศ.1955
จึงนำไปใช้ในเชิงธุรกิจเท่านั้น ใช้ในการผลิตภาพยนตร์
มีหน้าที่รวบรวมภาพยนตร์และแอนิเมชันของดิสนีย์ Buena Vista Motion
Pictures Group (หรือ Walt Disney Motion Pictures Group,
Inc.)
การ์ตูนใน Walt Disney
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จักหนูMickey
Mouse ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนยอดฮิตอันดับต้นๆของโลก
หลายๆคนก่อนที่จะมารู้จักการ์ตูนของวอสท์ดิสนีย์
มิกกี้เมาส์คงเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่เรารู้จัก
การ์ตูนมิกกี้เมาส์ลอกเลียนแบบมาจากหนูแฮมส์เตอร์
โดยออกแบบให้มีหูขนาดใหญ่เพื่อความน่ารักน่าเอ็นดูสำหรับผู้ที่พบเห็น
เมื่อมิกกี้เมาส์เริ่มโด่งดังและเป็นที่นิยม
ทางวอสท์ดิสนีย์จึงได้ทำการสร้างมิกกี้เมาส์ขึ้นอีกตัวหนึ่ง ให้มาเป็นคู่ของมิกกี้
คือ มินนี่ โดยมินนี่ก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง คือโบว์สีชมพูอันใหญ่
ที่ติดอยู่ด้านบนระหว่างหูสองข้าง
จากนั้นเหล่าคู่หูและเพื่อนซี้ของมิกกี้ก็ได้ทยอยตามกันออกมามากมาย
ไม่ว่าจะเป็นสุนัขของมิกกี้ที่ชื่อกูฟฟี่ หรือครอบครัวเป็ดโดนัลล์ดักค์
ทางวอลท์ดิสนีย์จึงได้ทำการผลิตตุ๊กตารูปมิกกี้เมาส์ และทำการจดลิขสิทธิ์ไว้
เพื่อนำออกจำหน่าย โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก
ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชมชอบและสินค้าต่างก็หมดลงภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ทางวอลท์ดิสนีย์จึงได้ผลิตสินค้าต่างชนิดอีกมากมายหลายอย่าง
โดยใช้รูปมิกกี้เมาส์เป็นแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ดินสอ ปากกา ยางลบ สมุด
แก้วน้ำ รองเท้า ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันสินค้าเหล่านี้ก็ยังเป็นที่นิยมและต้องการอยู่
ดิสนีย์แลนด์ (Disneyland)
เป็นสวนสนุกและสถานตากอากาศในเครือวอลท์ ดิสนีย์
ปัจจุบันนั้นมีสวนสนุกและสถานตากอากาศในเครือดิสนีย์ (Walt
Disney Parks and Resorts) ตั้งอยู่ 5 แห่งทั่วโลก
•ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท (Disneyland Resort) เริ่มสร้างโดยวอลท์ ดิสนีย์ ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955)ได้เปิดสวนสนุกแห่งแรกขึ้น และ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ได้เปิดสวนสนุกอีกแห่งขึ้น คือ Disney California Adventure สวนสนุกทั้งสองแห่งตั้งอยู่ที่ เมือง Anaheim มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
• วอลท์ ดิสนีย์ เวิลด์ รีสอร์ท (Walt Disney World Resort) เปิดปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ริมทะเลสาบบัวนา วิสตา เมือง Orlando มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยมีสวนสนุกแบบดิสนีย์แลนด์ (Magic Kingdom) และโรงแรมอีกสามแห่ง ปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนสวนสนุกเป็น 4 แห่ง (Magic Kingdom, Epcot, Disney-MGM studios และ Disney’s Animal Kingdom), สวนน้ำอีก 2 แห่ง, สนามกอล์ฟ และโรงแรมอีกมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลก
• โตเกียว ดิสนีย์ รีสอร์ท (Tokyo Disney Resort) เปิดปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ที่จังหวัดจิบะ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงแรกมีแต่สวนสนุกโตเกียว ดิสนีย์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ได้เปิดบริการสวนสนุกอีกแห่ง คือ โตเกียว ดิสนีย์ซี
• ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท ปารีส (Disneyland Resort Paris) เปิดปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เรียกอีกชื่อว่า ยูโรดิสนีย์ (Euro Disney) และปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ได้เปิดสวนสนุกอีกแห่ง ชื่อ วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ
• ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท (Hong Kong Disneyland Resort) เปิดในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ที่ฮ่องกง
•ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท (Disneyland Resort) เริ่มสร้างโดยวอลท์ ดิสนีย์ ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955)ได้เปิดสวนสนุกแห่งแรกขึ้น และ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ได้เปิดสวนสนุกอีกแห่งขึ้น คือ Disney California Adventure สวนสนุกทั้งสองแห่งตั้งอยู่ที่ เมือง Anaheim มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
• วอลท์ ดิสนีย์ เวิลด์ รีสอร์ท (Walt Disney World Resort) เปิดปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ริมทะเลสาบบัวนา วิสตา เมือง Orlando มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยมีสวนสนุกแบบดิสนีย์แลนด์ (Magic Kingdom) และโรงแรมอีกสามแห่ง ปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนสวนสนุกเป็น 4 แห่ง (Magic Kingdom, Epcot, Disney-MGM studios และ Disney’s Animal Kingdom), สวนน้ำอีก 2 แห่ง, สนามกอล์ฟ และโรงแรมอีกมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลก
• โตเกียว ดิสนีย์ รีสอร์ท (Tokyo Disney Resort) เปิดปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ที่จังหวัดจิบะ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงแรกมีแต่สวนสนุกโตเกียว ดิสนีย์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ได้เปิดบริการสวนสนุกอีกแห่ง คือ โตเกียว ดิสนีย์ซี
• ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท ปารีส (Disneyland Resort Paris) เปิดปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เรียกอีกชื่อว่า ยูโรดิสนีย์ (Euro Disney) และปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ได้เปิดสวนสนุกอีกแห่ง ชื่อ วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ
• ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท (Hong Kong Disneyland Resort) เปิดในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ที่ฮ่องกง
สู่วงการอุตสาหกรรมภาพยนต์ในยุคแรก
วอลท์ ดิสนีย์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 1901 เขาเป็นบุตรชายคนที่ 4 ของครอบครัวชาวอเมริกันชั้นกลาง เมื่อครอบครัวย้ายมายังแคนซัส
ซิตี้ บิดาของเขาไปซื้อกิจการจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และให้วอลท์
เป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ โดยบิดาของเขาเป็นคนขี้หงุดหงิดรำคาญ เจ้าอารมณ์และชอบพาลหาเรื่องวิวาท
ดังนั้นชีวิตในวัยเด็กของ วอลท์ ดิสนีย์
มีช่วงเวลาแห่งความผาสุกสนุกสนานบนไร่และกับบ้านของครอบครัวในแคนซัส ซิตี้
แต่ก็มีรอยด่างเป็นแผลฝังลึกจากอารมณ์ร้ายๆของผู้เป็นพ่อ
กับความไร้สุขจากลักษณะที่พี่ชายแต่ละคนไปจากบ้าน
ในฐานะของคนที่เปลี่ยนชีวิตวัยเด็กให้กลายเป็นสินค้าเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน วอลท์ ดิสนีย์ จึงมักย้อนนึกถึงความกลัว และความผาสุกในวัยต้นๆ ของตนเอง เขาก็เหมือนกับเด็กว้าเหว่จำนวนมาก ที่มักจะฆ่าเวลาด้วยการสร้างเพื่อนทางจินตนาการด้วยปากกากับกระดาษ ตอนที่ครอบครัวย้ายไปชิคาโก เขาก็พบทางออกสำหรับความสามารถเฉพาะตัวที่ปรากฏชัด ตอนที่เขากลายเป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ระดับจูเนียร์ของหนังสือพิมพ์โรงเรียนไฮสกูลแมคคินลีย์
วอลท์เริ่มตระหนักว่า ของเล่นเล็กๆน้อยๆของตนเอง มีค่ามากกว่าแค่ความคิดจินตนาการแปลกๆ เขานำเอาภาพการ์ตูนล้อเลียนตลกขบขันไปแลกกับการได้ตัดผมฟรี ระหว่างนั้นเอง สหรัฐอเมริกาก็เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอยู่ข้างฝ่ายพันธมิตร วอลท์ ซึ่งอายุ 16 ปี อาสาสมัครเป็นพลขับให้แก่หน่อยรถพยาบาลกาชาดอเมริกา ตอนที่เขาไปถึงฝรั่งเศส สงครามก็ยุติแล้ว เขาก็เลยขับรถบรรทุกมากกว่ารถพยาบาล แต่เมื่อใดที่เขาเข้าประจำหน้าที่ตามปกติ เขาก็จะวาดการ์ตูน สร้างความสนุกสนานให้แก่เพื่อนฝูงเป็นประจำ
ปี 1920 เขาเซ็นสัญญารับจ้างวาดภาพให้แก่บริษัทผลิตภาพยนตร์โฆษณาชื่อ แคนซัส ซิตี้ ฟิลม์ แอ็ด คัมปะนี ได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 40 ดอลลาร์ โดยบริษัทนี้ จะโฆษณาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสั้นความยาว 60 วินาที แพร่ภาพตามโรงภาพยนตร์ วอลท์ ดิสนีย์ จึงได้เรียนรู้วิธีใข้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสร้างภาพการ์ตูน กล้องแบบสต็อปแอ็คชั่น ซึ่งจับภาพวาดต่อกันเป็นชุด ทำให้ดูแล้วเหมือนเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
เขาทำงานใกล้ชิดกับศิลปินอีกคนชื่อ อัพบี ไอเวอร์คส์ ทั้งที่เพสแมน-รูบิน กับแคนซัส ซิตี้ ฟิล์ม ปี 1922 ศิลปินทั้งคู่ก็ช่วยกันตั้งบริษัทของตนเองชื่อ ลาฟ-โอ-แกรม เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนสั้น แต่ก็ประสบความล้มเหลว
ต่อจากนั้น วอลท์ ดิสนีย์จึงเริ่มสำรวจการพลิกแพลงทางการค้า เพื่อนำมาใช้กับความคิดบางส่วนของตนเอง เขาคิดว่าตนเองได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นต้นตำรับให้แก่วงการการ์ตูน ตอนที่นำเอาคนจริงๆมาสร้างเป็นการ์ตูนขึ้น ถึงแม้เทคนิคนี้จะมีการใช้กันมาก่อน แต่ภาพยนตร์ของดิสนีย์กับไอเวอร์คส์ ก็นำไปสู่การยอมรับภาพยนตร์การ์ตูนในลักษณะการค้าเป็นครั้งแรก พอปี 1923 เขาก็เดินทางจากแคนซัส ซิตี้ ไปยังสถานที่ซึ่งเคยได้ยินมาว่า ผู้ผลิตภาพยนตร์หนุ่มๆ สามารถหานายทุนมาสนับสนุนโครงการของตนได้ จุดหมายปลายทางที่เขามุ่งไปก็คือ ฮอลลีวู้ด
ด้วยเงินในกระเป๋าเพียง 40 ดอลลาร์ กับภาพการ์ตูน การผจญภัยของอลิซ ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดิสนีย์ก็จับรถไฟมุ่งไปทางตะวันตกของประเทศ
เมื่อเดินทางไปถึงลอสแองเจลีส วอลท์ ดิสนีย์ก็ไปพักอยู่กับโรเบิร์ตผู้เป็นลุง จากนั้นก็ตระเวณไปตามสตูดิโอต่างๆ แล้วก็ได้ค้นพบสัจธรรมอย่างรวดเร็วว่า ผู้กำกับที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่ใช่จะคว้ามาจากข้างถนนกันได้ง่ายๆ เมื่อไม่มีงาน ดิสนีย์ก็ทำแบบที่เคยทำในเมืองแคนซัส ซิตี้ ภายใต้สภาวการณ์เดียวกัน กล่าวคือ เขาเริ่มเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง “เมื่อคุณหางานทำไม่ได้ คุณก็ต้องเริ่มธุรกิจของตัวเอง”
วอลท์ ดิสนีย์มีสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ 2 อย่างด้วยกันคือ รอย พี่ชายของเขาซึ่งเป็นนักธุรกิจสมองเปรื่อง พำนักอยู่ในลอสแองเจลีส และกลับมาแข็งแรงดีดังเดิมหลังหายจากวัณโรค ส่วนสินทรัพย์อย่างที่ 2 ก็คือ การผจญภัยกับอลิซ ดังนั้นวอลท์ กับรอย จึงเปิดสตูดิโอภาพเคลื่อนไหวชื่อ ดิสนีย์ บราเธอร์ในโรงรถของลุงโรเบิร์ต และสามาถชายให้กับ วิงเลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์
เมื่อมีการแพร่ภาพการ์ตูนชุดเรื่องอลิซออกไป อัพบี ไอเวอร์คส์ก็เข้าร่วมกิจการที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ โดยในตอนแรกเข้ามาร่วมในฐานะนักเขียนการ์ตูน ที่ได้รับการว่าจ้างตามสัญญา หลังจากเสร็จสิ้นภาพยนตร์การ์ตูนการผจญภัยของอลิซแล้ว วอลท์ ดิสนีย์ ก็สมรสกับลิเลียน บาวนด์ ทำงานด้านลงหมึกในสตูดิโอ ส่วนวิงเลอร์ ผู้จัดจำหน่ายของเขา ก็แต่งงานเกือบๆจะพร้อมกัน จากนั้นเธอก็มอบการควบคุมธุรกิจจัดจำหน่ายให้กับสามีของเธอ มินซ์ ซึ่งก็ร่วมทำงานกับดิสนีย์ สร้างตัวการ์ตูนกระต่ายที่จับขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ เหมือนอย่างเจ้าแมวเฟลิกซ์ วอลท์สเก็ตช์ภาพกระต่ายตัวหนึ่งขึ้นมา ซึ่งมีชื่อว่า “ออสวอลด์ เจ้ากระต่ายโชคดี”
ถึงแม้ออสวอลด์จะกลายเป็นจุดเริ่มภาพยนตร์การ์ตูนชุดสั้น ที่ได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ความสำเร็จของดิสนีย์กลับมีช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะความโง่เขลาของเขา ทำให้เขาตกลงเซ็นสัญญาผลิตการ์ตูน แต่บริษัทของมินซ์กับยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ จะเป็นเจ้าของตัวการ์ตูนนั้น เรียกได้ว่าประสบการณ์ครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นให้แก่ วอลท์ ดิสนีย์ เป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดตั้งปณิธานว่า ไม่มีวันยอมทำงานให้ใครอีกแล้ว
ในฐานะของคนที่เปลี่ยนชีวิตวัยเด็กให้กลายเป็นสินค้าเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน วอลท์ ดิสนีย์ จึงมักย้อนนึกถึงความกลัว และความผาสุกในวัยต้นๆ ของตนเอง เขาก็เหมือนกับเด็กว้าเหว่จำนวนมาก ที่มักจะฆ่าเวลาด้วยการสร้างเพื่อนทางจินตนาการด้วยปากกากับกระดาษ ตอนที่ครอบครัวย้ายไปชิคาโก เขาก็พบทางออกสำหรับความสามารถเฉพาะตัวที่ปรากฏชัด ตอนที่เขากลายเป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ระดับจูเนียร์ของหนังสือพิมพ์โรงเรียนไฮสกูลแมคคินลีย์
วอลท์เริ่มตระหนักว่า ของเล่นเล็กๆน้อยๆของตนเอง มีค่ามากกว่าแค่ความคิดจินตนาการแปลกๆ เขานำเอาภาพการ์ตูนล้อเลียนตลกขบขันไปแลกกับการได้ตัดผมฟรี ระหว่างนั้นเอง สหรัฐอเมริกาก็เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอยู่ข้างฝ่ายพันธมิตร วอลท์ ซึ่งอายุ 16 ปี อาสาสมัครเป็นพลขับให้แก่หน่อยรถพยาบาลกาชาดอเมริกา ตอนที่เขาไปถึงฝรั่งเศส สงครามก็ยุติแล้ว เขาก็เลยขับรถบรรทุกมากกว่ารถพยาบาล แต่เมื่อใดที่เขาเข้าประจำหน้าที่ตามปกติ เขาก็จะวาดการ์ตูน สร้างความสนุกสนานให้แก่เพื่อนฝูงเป็นประจำ
ปี 1920 เขาเซ็นสัญญารับจ้างวาดภาพให้แก่บริษัทผลิตภาพยนตร์โฆษณาชื่อ แคนซัส ซิตี้ ฟิลม์ แอ็ด คัมปะนี ได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 40 ดอลลาร์ โดยบริษัทนี้ จะโฆษณาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสั้นความยาว 60 วินาที แพร่ภาพตามโรงภาพยนตร์ วอลท์ ดิสนีย์ จึงได้เรียนรู้วิธีใข้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการสร้างภาพการ์ตูน กล้องแบบสต็อปแอ็คชั่น ซึ่งจับภาพวาดต่อกันเป็นชุด ทำให้ดูแล้วเหมือนเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
เขาทำงานใกล้ชิดกับศิลปินอีกคนชื่อ อัพบี ไอเวอร์คส์ ทั้งที่เพสแมน-รูบิน กับแคนซัส ซิตี้ ฟิล์ม ปี 1922 ศิลปินทั้งคู่ก็ช่วยกันตั้งบริษัทของตนเองชื่อ ลาฟ-โอ-แกรม เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนสั้น แต่ก็ประสบความล้มเหลว
ต่อจากนั้น วอลท์ ดิสนีย์จึงเริ่มสำรวจการพลิกแพลงทางการค้า เพื่อนำมาใช้กับความคิดบางส่วนของตนเอง เขาคิดว่าตนเองได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นต้นตำรับให้แก่วงการการ์ตูน ตอนที่นำเอาคนจริงๆมาสร้างเป็นการ์ตูนขึ้น ถึงแม้เทคนิคนี้จะมีการใช้กันมาก่อน แต่ภาพยนตร์ของดิสนีย์กับไอเวอร์คส์ ก็นำไปสู่การยอมรับภาพยนตร์การ์ตูนในลักษณะการค้าเป็นครั้งแรก พอปี 1923 เขาก็เดินทางจากแคนซัส ซิตี้ ไปยังสถานที่ซึ่งเคยได้ยินมาว่า ผู้ผลิตภาพยนตร์หนุ่มๆ สามารถหานายทุนมาสนับสนุนโครงการของตนได้ จุดหมายปลายทางที่เขามุ่งไปก็คือ ฮอลลีวู้ด
ด้วยเงินในกระเป๋าเพียง 40 ดอลลาร์ กับภาพการ์ตูน การผจญภัยของอลิซ ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดิสนีย์ก็จับรถไฟมุ่งไปทางตะวันตกของประเทศ
เมื่อเดินทางไปถึงลอสแองเจลีส วอลท์ ดิสนีย์ก็ไปพักอยู่กับโรเบิร์ตผู้เป็นลุง จากนั้นก็ตระเวณไปตามสตูดิโอต่างๆ แล้วก็ได้ค้นพบสัจธรรมอย่างรวดเร็วว่า ผู้กำกับที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่ใช่จะคว้ามาจากข้างถนนกันได้ง่ายๆ เมื่อไม่มีงาน ดิสนีย์ก็ทำแบบที่เคยทำในเมืองแคนซัส ซิตี้ ภายใต้สภาวการณ์เดียวกัน กล่าวคือ เขาเริ่มเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง “เมื่อคุณหางานทำไม่ได้ คุณก็ต้องเริ่มธุรกิจของตัวเอง”
วอลท์ ดิสนีย์มีสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ 2 อย่างด้วยกันคือ รอย พี่ชายของเขาซึ่งเป็นนักธุรกิจสมองเปรื่อง พำนักอยู่ในลอสแองเจลีส และกลับมาแข็งแรงดีดังเดิมหลังหายจากวัณโรค ส่วนสินทรัพย์อย่างที่ 2 ก็คือ การผจญภัยกับอลิซ ดังนั้นวอลท์ กับรอย จึงเปิดสตูดิโอภาพเคลื่อนไหวชื่อ ดิสนีย์ บราเธอร์ในโรงรถของลุงโรเบิร์ต และสามาถชายให้กับ วิงเลอร์ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์
เมื่อมีการแพร่ภาพการ์ตูนชุดเรื่องอลิซออกไป อัพบี ไอเวอร์คส์ก็เข้าร่วมกิจการที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ โดยในตอนแรกเข้ามาร่วมในฐานะนักเขียนการ์ตูน ที่ได้รับการว่าจ้างตามสัญญา หลังจากเสร็จสิ้นภาพยนตร์การ์ตูนการผจญภัยของอลิซแล้ว วอลท์ ดิสนีย์ ก็สมรสกับลิเลียน บาวนด์ ทำงานด้านลงหมึกในสตูดิโอ ส่วนวิงเลอร์ ผู้จัดจำหน่ายของเขา ก็แต่งงานเกือบๆจะพร้อมกัน จากนั้นเธอก็มอบการควบคุมธุรกิจจัดจำหน่ายให้กับสามีของเธอ มินซ์ ซึ่งก็ร่วมทำงานกับดิสนีย์ สร้างตัวการ์ตูนกระต่ายที่จับขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ เหมือนอย่างเจ้าแมวเฟลิกซ์ วอลท์สเก็ตช์ภาพกระต่ายตัวหนึ่งขึ้นมา ซึ่งมีชื่อว่า “ออสวอลด์ เจ้ากระต่ายโชคดี”
ถึงแม้ออสวอลด์จะกลายเป็นจุดเริ่มภาพยนตร์การ์ตูนชุดสั้น ที่ได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ความสำเร็จของดิสนีย์กลับมีช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะความโง่เขลาของเขา ทำให้เขาตกลงเซ็นสัญญาผลิตการ์ตูน แต่บริษัทของมินซ์กับยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ จะเป็นเจ้าของตัวการ์ตูนนั้น เรียกได้ว่าประสบการณ์ครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นให้แก่ วอลท์ ดิสนีย์ เป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดตั้งปณิธานว่า ไม่มีวันยอมทำงานให้ใครอีกแล้ว
เริ่มต้นอีกครั้งกับ มิคกี้ เมาส์
ภายหลังเรื่องราวกับมินซ์เป็นที่ประจักษ์ซึ้งแก่ใจแล้ว ทั้งวอลท์และลิเลียนผู้ภรรยาก็ขึ้นรถไฟเดินทางกลับแคลิฟอร์เนียด้วยความรู้สึกกระปลกกระเปลี้ยสิ้นแรง และตระหนักดีว่าสตูดิโอของเขาต้องปิดกิจการรวดเร็วเป็นแน่ ถ้าเขาไม่สามารถสร้างตัวการ์ตูนใหม่ขึ้นมาได้ ความคิดของเขาหันเหไปหาหนูอย่างรวดเร็ว เพราะเขามักจะเจอพวกหนูในตะกร้าทิ้งผงใต้ในห้องทำงาน
ครั้นมาถึงแคลิฟอร์เนีย เขาและ อัพบี ไอเวอร์คส์ ก็ช่วยกันสร้างตัวการ์ตูนที่มีความน่ารักน่าเอ็นดู และมีลักษณะเหมือนออสวอลด์แต่มีหูเหมือนหนู ทั้งคู่ตกลงใจตั้งชื่อเจ้าตัวนี้ว่า “มิคกี้ เมาส์”
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มิดกี้ เมาส์เป็นพระเอกเป็นการ์ตูนเรื่อง Plane Crazy ซึ่งเป็นเรื่องราววิบากของมิคกี้บนเครื่องบิน ต้องใช้เงินสร้าง 1,800 ดอลลาร์ต่อตอนจากนั้นก็ตามมาด้วย The Gallopin Gaucho และพอถึงภาพยนตร์การ์ตูนตอนที่ 3 ของมิคกี้ เมาส์ชื่อ Steamboat Willie เจ้ามิคกี้ เมาส์ ก็เปลี่ยนวงการการ์ตูนภาพเคลื่อนไหวตลอดกาล ในไม่ช้าหนูมิคกี้ก็กลายเป็นการ์ตูนที่คนทั้งประเทศหลงใหลคลั่งไคล้ และไม่เพียงเฉพาะเด็กๆเท่านั้น
ความสำเร็จของ Steamboat Willie ทำให้วอลท์ ดิสนีย์เป็นที่ต้องการตัวมาก เขาเริ่มสร้างการ์ตูนมิคกี้ เมาส์ในรูปแบบใหม่ๆเดือนละ 1 แบบ สตูดิโอหลายแห่งรวมทั้งยูนิเวอร์แซล อยากจะเป็นผู้จัดจำหน่ายให้แก่ดิสนีย์ หรือแม้แต่ซื้อกิจการของบริษัทเขาเลย แต่เขาไม่สนใจขายกิจการ
เขาพยายามศึกษาระบบสตูดิโอ และจัดจำหน่ายการ์ตูนของเขาให้แก่โรงภาพยนตร์รายย่อย แต่เขาพบว่า ในระหว่างที่มิคกี้ เมาส์ทำเงินมหาศาล แต่เงินที่ไหลกลับเข้ามือของวอลท์ ดิสนีย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในที่สุดปี 1930 เขาก็ยอมเซ็นสัญญากับสตูดิโอแห่งหนึ่ง มอบหมายให้โคลัมเบียพิคเจอร์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูน โดยเขาได้รับเงินตอนละ 7,000 ดอลลาร์ ทั้งสองฝ่ายจะแบ่งเงินกัน แต่วอลท์ ดิสนีย์ยังคงถือลิขสิทธิ์อยู่
บริษัทโคลัมเบีย พิคเจอร์สจัดจำหน่ายการ์ตูนของดิสนีย์ไปทั่วโลก ในปี 1930 เจ้าหนูมิคกี้กลายเป็นปรากฏการณ์ความสำเร็จระดับโลกชนิดเฉียบพลัน คนอิตาลีเรียกขานเจ้าหนูตัวนี้ว่า Topolino ในสเปนมิคกี้ได้ชื่อว่า Miguel Rotoncito ส่วนในสวีเดนชื่อของมันเป็น Musse Pigg นอกจากนี้เขาตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนมิคกี้ เมาส์ออกมา ปรากฏว่าแค่ปีแรกสามารถจำหน่ายได้ถึง 97,938 เล่ม นอกจากนี้เขายังทำสัญญาตกลงกับคิง ฟีเจอร์ เพื่อสร้างการ์ตูนชุคมิคกี้ เมาส์ 3 ช่องในหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้บริษัทส่งเสริมการกระจายชมรมมิคกี้ เมาส์ ซึ่งเริ่มผุดขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศได้
ในปี 1932 วอลท์ ดิสนีย์ ได้จ้างนักธุรกิจชื่อ เคย์ แคเมน แห่งนิวยอร์ก ให้มาช่วยคิดหาวิธีการสร้างความมีเสน่ห์ทางการค้าให้แก่มิคกี้ ซึ่งในขณะที่การให้สัมปทานผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เจ้าหนูมิคกี้ เมาส์ กลับสร้างสถิติใหม่อย่างรวดเร็ว งานแรกของแคเมนคือการให้สัมปทานผลิตไอศกรีมโคนเพียงชั่วเดือนแรกได้ประมาณ 10 ล้านอัน ครั้นปลายปี บริษัทต่างๆตั้งแต่ RCA ไปจนถึงเจเนอรัล ฟูดส์ ต่างก็มีส่วนช่วยขายเจ้าหนูตัวนี้ โดยทั่วๆไปนั้น ดิสนีย์จะได้รับส่วนแบ่ง 5 เปอร์เซ็นต์ ของราคาขายส่งสินค้าที่ได้รับสิทธิ์สัมปทาน แต่ในช่วงปีแรกที่แคเมนทำงานกับบริษัทการตกลงของเขาสร้างผลกำไรประมาณ 300,000 ดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด
โอกาสงามที่วอลท์ ดิสนีย์ได้ยินว่ามาเคาะประตูบ้านเขา ตอนที่เจ้ามิคกี้ เมาส์พูดได้เป็นครั้งแรก ดูเหมือนจะเปลี่ยนจากเคาะมาเป็นเตะประตูแรงๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่การ์ตูนมิคกี้ เมาส์ ส่งผลไปเป็นชุดแล้ว วอลท์ ดิสนีย์เองก็พยายามทำงานมากเกินไป ผลิตภาพยนตร์สั้นมิคกี้ เมาส์ ตอนใหม่ออกมาทุกเดือน ใช้ประโยชน์ทำธุรกิจทุกด้านที่มีอยู่ จนตัวเองถึงขนาดพับไป และภรรยาคือผู้พบเขานอนสลบไสล ทว่าเมื่อกลับไปทำงานอีกครั้งหลังพักยาว ดิสนีย์กลับมามุงานหามรุ่งหามค่ำยิ่งกว่าก่อนหน้านั้นเพื่อสร้างบริษัทขึ้นมา
ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 30 ทำให้วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ สามารถลงทุนปรับปรุงคุณภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวของตนได้ ซึ่งในขณะที่ผู้รับสิทธิ์ทั้งหลายต่างก็ผลิตสินค้าจากตัวการ์ตูนของเขาออกมาเป็นระลอก ดิสนีย์ก็ประกาศชัดว่าภาพยนตร์การ์ตูนของเขานั้นไม่ใช่แค่ผลผลิตเพื่อการค้า แต่เป็นรูปแบบใหม่ของศิลปะที่ถูกต้อง ในปี 1932 สตูดิโอของเขาจึงเป็นแห่งแรกที่เริ่มเปิดโรงเรียนของตนเองที่ซึ่งดิสนีย์สามารถอบรมความรู้ให้แก่นักวาดการ์ตูนคนรุ่นใหม่ในวิธีของเขาเอง เขาจัดหาเทคโนโลยีภาพยนต์การ์ตูนล่าสุด มอบวัสดุคุณภาพสูงสุดให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้งาน ต่อมาก็ได้สร้างตัวการ์ตูนอย่าง โดแนลด์ ดัค ,พลูโตและกูฟฟี่ ขึ้นมา ทำให้เขาสามารถโกยกำไรจากตัวการ์ตูนเหล่านี้ได้มากมาย
ถึงแม้ตัวละครหน้าใหม่ๆ จะแพร่หลายมากขึ้น แต่มิคกี้ เมาส์ก็ยังคงเป็นหนึ่งในหัวใจของวอลท์ ดิสนีย์อยู่ดี เขาจะติดนาฬิกามิคกี้ เมาส์เรือนใหญ่ไว้บนผนังห้องทำงาน ในสมุคเช็คของบริษัทก็จะพิมพ์รูปมิคกี้ เมาส์เอาไว้ด้วย
ในญี่ปุ่น เจ้าหนูมิคกี้ เมาส์รู้จักในนามของ มิกิ คูชิ เป็นสิ่งที่คนรู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดรองลงมาจากองค์พระจักรพรรดิ์ และในฐานะเป็นผู้สร้างมิคกี้ เมาส์ขึ้นมา วอลท์ ดิสนีย์เองก็กลายเป็นคนที่มีชื่อเสียง ตอนที่เขาเดินทางไปอังกฤษเมื่อปี 1937 เขาก็ร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำกับพระราชินีแห่งอังกฤษ และได้เข้าพบ เอช.จี.เวลส์ ปีถัดมาเขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากทั้งมหาวิทยาลัยเยลและฮาร์วาร์ด มีหลายครั้งด้วยกันที่เส้นแบ่งระหว่างผู้สร้างสรรค์กับการ์ตูนดัง รางเลือนมากเสียจนกลมกลืนไปด้วยกัน ตอนที่ดิสนีย์รับรางวัลจากสันนิบาตแห่งชาติในกรุงปารีส เขาถึงขนาดขึ้นไปกล่าวสุนทรพจน์ด้วยเสียงที่ใช้พากษ์เป็นตัวมิคกี้ เมาส์
ภายหลังเรื่องราวกับมินซ์เป็นที่ประจักษ์ซึ้งแก่ใจแล้ว ทั้งวอลท์และลิเลียนผู้ภรรยาก็ขึ้นรถไฟเดินทางกลับแคลิฟอร์เนียด้วยความรู้สึกกระปลกกระเปลี้ยสิ้นแรง และตระหนักดีว่าสตูดิโอของเขาต้องปิดกิจการรวดเร็วเป็นแน่ ถ้าเขาไม่สามารถสร้างตัวการ์ตูนใหม่ขึ้นมาได้ ความคิดของเขาหันเหไปหาหนูอย่างรวดเร็ว เพราะเขามักจะเจอพวกหนูในตะกร้าทิ้งผงใต้ในห้องทำงาน
ครั้นมาถึงแคลิฟอร์เนีย เขาและ อัพบี ไอเวอร์คส์ ก็ช่วยกันสร้างตัวการ์ตูนที่มีความน่ารักน่าเอ็นดู และมีลักษณะเหมือนออสวอลด์แต่มีหูเหมือนหนู ทั้งคู่ตกลงใจตั้งชื่อเจ้าตัวนี้ว่า “มิคกี้ เมาส์”
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มิดกี้ เมาส์เป็นพระเอกเป็นการ์ตูนเรื่อง Plane Crazy ซึ่งเป็นเรื่องราววิบากของมิคกี้บนเครื่องบิน ต้องใช้เงินสร้าง 1,800 ดอลลาร์ต่อตอนจากนั้นก็ตามมาด้วย The Gallopin Gaucho และพอถึงภาพยนตร์การ์ตูนตอนที่ 3 ของมิคกี้ เมาส์ชื่อ Steamboat Willie เจ้ามิคกี้ เมาส์ ก็เปลี่ยนวงการการ์ตูนภาพเคลื่อนไหวตลอดกาล ในไม่ช้าหนูมิคกี้ก็กลายเป็นการ์ตูนที่คนทั้งประเทศหลงใหลคลั่งไคล้ และไม่เพียงเฉพาะเด็กๆเท่านั้น
ความสำเร็จของ Steamboat Willie ทำให้วอลท์ ดิสนีย์เป็นที่ต้องการตัวมาก เขาเริ่มสร้างการ์ตูนมิคกี้ เมาส์ในรูปแบบใหม่ๆเดือนละ 1 แบบ สตูดิโอหลายแห่งรวมทั้งยูนิเวอร์แซล อยากจะเป็นผู้จัดจำหน่ายให้แก่ดิสนีย์ หรือแม้แต่ซื้อกิจการของบริษัทเขาเลย แต่เขาไม่สนใจขายกิจการ
เขาพยายามศึกษาระบบสตูดิโอ และจัดจำหน่ายการ์ตูนของเขาให้แก่โรงภาพยนตร์รายย่อย แต่เขาพบว่า ในระหว่างที่มิคกี้ เมาส์ทำเงินมหาศาล แต่เงินที่ไหลกลับเข้ามือของวอลท์ ดิสนีย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในที่สุดปี 1930 เขาก็ยอมเซ็นสัญญากับสตูดิโอแห่งหนึ่ง มอบหมายให้โคลัมเบียพิคเจอร์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์การ์ตูน โดยเขาได้รับเงินตอนละ 7,000 ดอลลาร์ ทั้งสองฝ่ายจะแบ่งเงินกัน แต่วอลท์ ดิสนีย์ยังคงถือลิขสิทธิ์อยู่
บริษัทโคลัมเบีย พิคเจอร์สจัดจำหน่ายการ์ตูนของดิสนีย์ไปทั่วโลก ในปี 1930 เจ้าหนูมิคกี้กลายเป็นปรากฏการณ์ความสำเร็จระดับโลกชนิดเฉียบพลัน คนอิตาลีเรียกขานเจ้าหนูตัวนี้ว่า Topolino ในสเปนมิคกี้ได้ชื่อว่า Miguel Rotoncito ส่วนในสวีเดนชื่อของมันเป็น Musse Pigg นอกจากนี้เขาตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนมิคกี้ เมาส์ออกมา ปรากฏว่าแค่ปีแรกสามารถจำหน่ายได้ถึง 97,938 เล่ม นอกจากนี้เขายังทำสัญญาตกลงกับคิง ฟีเจอร์ เพื่อสร้างการ์ตูนชุคมิคกี้ เมาส์ 3 ช่องในหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้บริษัทส่งเสริมการกระจายชมรมมิคกี้ เมาส์ ซึ่งเริ่มผุดขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศได้
ในปี 1932 วอลท์ ดิสนีย์ ได้จ้างนักธุรกิจชื่อ เคย์ แคเมน แห่งนิวยอร์ก ให้มาช่วยคิดหาวิธีการสร้างความมีเสน่ห์ทางการค้าให้แก่มิคกี้ ซึ่งในขณะที่การให้สัมปทานผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เจ้าหนูมิคกี้ เมาส์ กลับสร้างสถิติใหม่อย่างรวดเร็ว งานแรกของแคเมนคือการให้สัมปทานผลิตไอศกรีมโคนเพียงชั่วเดือนแรกได้ประมาณ 10 ล้านอัน ครั้นปลายปี บริษัทต่างๆตั้งแต่ RCA ไปจนถึงเจเนอรัล ฟูดส์ ต่างก็มีส่วนช่วยขายเจ้าหนูตัวนี้ โดยทั่วๆไปนั้น ดิสนีย์จะได้รับส่วนแบ่ง 5 เปอร์เซ็นต์ ของราคาขายส่งสินค้าที่ได้รับสิทธิ์สัมปทาน แต่ในช่วงปีแรกที่แคเมนทำงานกับบริษัทการตกลงของเขาสร้างผลกำไรประมาณ 300,000 ดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด
โอกาสงามที่วอลท์ ดิสนีย์ได้ยินว่ามาเคาะประตูบ้านเขา ตอนที่เจ้ามิคกี้ เมาส์พูดได้เป็นครั้งแรก ดูเหมือนจะเปลี่ยนจากเคาะมาเป็นเตะประตูแรงๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่การ์ตูนมิคกี้ เมาส์ ส่งผลไปเป็นชุดแล้ว วอลท์ ดิสนีย์เองก็พยายามทำงานมากเกินไป ผลิตภาพยนตร์สั้นมิคกี้ เมาส์ ตอนใหม่ออกมาทุกเดือน ใช้ประโยชน์ทำธุรกิจทุกด้านที่มีอยู่ จนตัวเองถึงขนาดพับไป และภรรยาคือผู้พบเขานอนสลบไสล ทว่าเมื่อกลับไปทำงานอีกครั้งหลังพักยาว ดิสนีย์กลับมามุงานหามรุ่งหามค่ำยิ่งกว่าก่อนหน้านั้นเพื่อสร้างบริษัทขึ้นมา
ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 30 ทำให้วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ สามารถลงทุนปรับปรุงคุณภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวของตนได้ ซึ่งในขณะที่ผู้รับสิทธิ์ทั้งหลายต่างก็ผลิตสินค้าจากตัวการ์ตูนของเขาออกมาเป็นระลอก ดิสนีย์ก็ประกาศชัดว่าภาพยนตร์การ์ตูนของเขานั้นไม่ใช่แค่ผลผลิตเพื่อการค้า แต่เป็นรูปแบบใหม่ของศิลปะที่ถูกต้อง ในปี 1932 สตูดิโอของเขาจึงเป็นแห่งแรกที่เริ่มเปิดโรงเรียนของตนเองที่ซึ่งดิสนีย์สามารถอบรมความรู้ให้แก่นักวาดการ์ตูนคนรุ่นใหม่ในวิธีของเขาเอง เขาจัดหาเทคโนโลยีภาพยนต์การ์ตูนล่าสุด มอบวัสดุคุณภาพสูงสุดให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้งาน ต่อมาก็ได้สร้างตัวการ์ตูนอย่าง โดแนลด์ ดัค ,พลูโตและกูฟฟี่ ขึ้นมา ทำให้เขาสามารถโกยกำไรจากตัวการ์ตูนเหล่านี้ได้มากมาย
ถึงแม้ตัวละครหน้าใหม่ๆ จะแพร่หลายมากขึ้น แต่มิคกี้ เมาส์ก็ยังคงเป็นหนึ่งในหัวใจของวอลท์ ดิสนีย์อยู่ดี เขาจะติดนาฬิกามิคกี้ เมาส์เรือนใหญ่ไว้บนผนังห้องทำงาน ในสมุคเช็คของบริษัทก็จะพิมพ์รูปมิคกี้ เมาส์เอาไว้ด้วย
ในญี่ปุ่น เจ้าหนูมิคกี้ เมาส์รู้จักในนามของ มิกิ คูชิ เป็นสิ่งที่คนรู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดรองลงมาจากองค์พระจักรพรรดิ์ และในฐานะเป็นผู้สร้างมิคกี้ เมาส์ขึ้นมา วอลท์ ดิสนีย์เองก็กลายเป็นคนที่มีชื่อเสียง ตอนที่เขาเดินทางไปอังกฤษเมื่อปี 1937 เขาก็ร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำกับพระราชินีแห่งอังกฤษ และได้เข้าพบ เอช.จี.เวลส์ ปีถัดมาเขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากทั้งมหาวิทยาลัยเยลและฮาร์วาร์ด มีหลายครั้งด้วยกันที่เส้นแบ่งระหว่างผู้สร้างสรรค์กับการ์ตูนดัง รางเลือนมากเสียจนกลมกลืนไปด้วยกัน ตอนที่ดิสนีย์รับรางวัลจากสันนิบาตแห่งชาติในกรุงปารีส เขาถึงขนาดขึ้นไปกล่าวสุนทรพจน์ด้วยเสียงที่ใช้พากษ์เป็นตัวมิคกี้ เมาส์
สโนว์ไวท์การ์ตูนเรื่องใหม่
ในปี 1934 วอลท์ ดิสนีย์ก็ตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่เคยมีใครในฮอลลีวู้ดคิดทำมาก่อน นั่นก็คือ ผลิตภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว คือ นิทานสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ปรากฏว่า ทั่วทั้งประเทศผู้ชมต่างแห่แหนไปออกันแน่นขนัดตามโรงภาพยนตร์ สโนว์ไวท์สามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว พอเปิดฉายเพียงครั้งแรก ก็สามารถทำเงินให้วอลท์ ดิสนีย์ ถึง 8.5 ล้านดอลลาร์ และได้รับรางวัลอเคเดมี อวอร์ด รางวัลพิเศษ
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ วอลท์และรอย ก็ตัดสินใจลงทุน 100,000 ดอลลาร์ซื้อที่ดินย่านเบอร์แบ็งค รัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวน 51 เอเคอร์เพื่อสร้างเป็นสตูดิโอแห่งใหม่สำหรับผลิตการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว
ในปี 1934 วอลท์ ดิสนีย์ก็ตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่เคยมีใครในฮอลลีวู้ดคิดทำมาก่อน นั่นก็คือ ผลิตภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว คือ นิทานสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ปรากฏว่า ทั่วทั้งประเทศผู้ชมต่างแห่แหนไปออกันแน่นขนัดตามโรงภาพยนตร์ สโนว์ไวท์สามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว พอเปิดฉายเพียงครั้งแรก ก็สามารถทำเงินให้วอลท์ ดิสนีย์ ถึง 8.5 ล้านดอลลาร์ และได้รับรางวัลอเคเดมี อวอร์ด รางวัลพิเศษ
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จ วอลท์และรอย ก็ตัดสินใจลงทุน 100,000 ดอลลาร์ซื้อที่ดินย่านเบอร์แบ็งค รัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวน 51 เอเคอร์เพื่อสร้างเป็นสตูดิโอแห่งใหม่สำหรับผลิตการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว
อาณาจักรของวอลท์ดิสนีย์
กลางทศวรรษ 1950 ดิสนีย์เริ่มขายผลงานให้แก่วงการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายใหม่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภายหลังทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์หลายรายการในปี 1954 ดิสนีย์ก็เซ็นสัญญาระยะยาวให้สิทธิ์ขาดกับ ABC แต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ผลิตชั้นนำของฮอลลีวู้ดรายแรกที่ทำแบบนั้น
รายการโทรทัศน์โปรแกรม ดิสนีย์แลนด์ ซึ่งมีวอลท์ ดิสนีย์เป็นพิธีกร มีตัวการ์ตูนต่างๆ และภาพยนตร์สารคดีธรรมชาติมาออกอากาศประเดิมในปี 1954 หลังจากนั้นความมหัศจรรย์ของดิสนีย์ ก็สร้างความพิศวงผ่านทางจอเล็ก ในช่วงฤดูกาลแรกที่ออกอากาศ รายการนี้สามารถทำเรตติ้งตามการจัดอันดับของนีลสัน อันดับที่ 41 อย่างน่าแปลกใจ ซึ่งหมายความว่า มีคนดูแวะเวียนเข้ามาชมรายการของเขาประมาณ 30.8 ล้านคน จากทั้งหมด 75 ล้านคน
ปีถัดมา ดิสนีย์ก็สร้างชมรมมิคกี้ เมาส์ ซึ่งก็ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางโทรทัศน์ ดึงดูดผู้ชมทั้งเด็กและวัยรุ่นอย่างมากมาย นอกเหนือจากสร้างดาราเด็กแสดงเป็นหนูอย่างแอนเนต ฟูนิเซลโลขึ้นมาแล้ว รายการนี้ยังดันยอดขายสิทธิ์สัมปทานผลิตภัณฑ์ของดิสนีย์ให้พุ่งลิ่วอีกด้วย ช่วงที่รายการได้รับความนิยมสูงตอนกลางทศวรรษ 1950 สินค้าเป็นหูของมิคกี้ เมาส์ สามารถจำหน่ายได้ถึงวันละประมาณ 25,000 ชุด
วอลท์ ดิสนีย์ จะให้เสี้ยวหนึ่งแห่งโลกจินตนาการของเขาแก่ผู้ชม ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำเสมอ แต่เขาก็ต้องการวิธีดึงจินตนาการของเขาออกมาโลดแล่นมีชีวิตอย่างแท้จริง เขาตัดสินใจแยกจากความบันเทิงผ่านสื่อทั้งหลายด้วยความห้าวหาญ หันมามุ่งมุ่นตั้งใจสร้างสวนสนุกขึ้นมาแห่งหนึ่ง ดิสนีย์ได้รับแนวคิดนี้ระหว่างมองบุตรสาวสองคนของเขาเล่นม้าหมุน
ในขณะที่ดิสนีย์แลนด์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง บริษัทต่างๆก็เริ่มตระหนักถึงโอกาสทางการค้าของสวนสนุกแห่งนี้ และยอมจ่ายเพื่อเช่าหรือซื้อสัมปทานพื้นที่จำหน่ายสินค้าของตนเอง หรือมิฉะนั้นก็เพื่อให้ชื่อของตนเองปรากฏอยู่บนของเล่นในสวนสนุกเพื่อประชาสัมพันธ์
ดิสนีย์แลนด์กลายเป็นสวนสนุกให้ความบันเทิงใหญ่สุดของประเทศ เปิดโอกาสให้คนอเมริกันได้สัมผัสกับบรรยากาศสวนสนุกสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำให้คนอเมริกันได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งประดิษฐ์ การเปิดสวนสนุกของดิสนีย์แลนด์ได้จังหวะเหมาะสม เพราะประเทศอเมริกากำลังอยู่ในระหว่างยุคประชากรเบ่งบาน เด็กที่เกิดระหว่างปี 1946-1964 เพิ่มขึ้นวันละ 10,000 คน ทำให้ทั่วประเทศมีเด็กถึง 76.4 ล้านคน ทั้งหมดหลั่งไหลไปดิสนีย์แลนด์พร้อมผู้ปกครอง
ก่อนเปิดสวนสนุก บริษัทวอลท์ ดิสนีย์ โปรดักชั่น มีส่วนได้ส่วนเสียในดิสนีย์แลนด์อยู่แค่ 1 ใน 3 แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว และเขาได้ขยายอาณาจักร เริ่มต้นด้วยการวางแผนสร้างดิสนีย์ เวิลด์ ในปี 1958 ใน ฟลอริดา และต่อมาก็ได้ขยายไปยังต่างประเทศ
สวนสนุกมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์แห่งนี้ เปิดให้เข้าชมได้ในปี 1971 ดิสนีย์ เวิลด์ ไม่ใช่แค่ก็อปปี้ของดิสนีย์แลนด์แห่งชายฝั่งตะวันตกเท่านั้น แต่เป็นจุดบันดาลใจในฐานะแบบอย่างการวางผังเมือง มีรีสอร์ทที่พักในบริเวณ,โรงแรมและมีศูนย์ EPCOT (Experimental Prototype Community of Tomorrow) ซึ่งเป็นศูนย์ทางด้านการศึกษา ที่จัดสภาพแวดล้อมเหมือนโลกอนาคต มีซุ้มพลับพลาต่างๆ จัดแสดงประเทศต่างๆเอาไว้
ในด้านภาพยนตร์นั้น เขาเรียนรู้ในเวลาต่อมาว่า คนรุ่นต่อๆมาก็สามารถจะนำเอาภาพยนตร์ของครอบครัวกลับมาดูกันใหม่ ราวกับเป็นของใหม่เอี่ยม สำหรับผู้ชมการ์ตูนนั้น เขากำหนดคนแต่ละรุ่นไว้ว่าห่างกันประมาณ 7 ปี และมีการทำเป็นวีดีโอ จัดจำหน่าย สร้างรายได้แต่ละเรื่องเป็นร้อยล้านดอลลาร์
วอลท์ ดิสนีย์ ไม่ได้มีอายุยืนยาวจนทันเห็นดิสนีย์ เวิลด์ สร้างเสร็จ เขาเป็นเหยื่อมะเร็งในปอด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ปี 1966 ด้วยวัย 65 ปี เขาทิ้งบริษัทให้กลายเป็นเสมือนหนึ่งอนุสาวรีย์ของเขา และทิ้งบริษัทที่กลายเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ออกของครอบครัวชาวอเมริกัน
กลางทศวรรษ 1950 ดิสนีย์เริ่มขายผลงานให้แก่วงการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายใหม่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภายหลังทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์หลายรายการในปี 1954 ดิสนีย์ก็เซ็นสัญญาระยะยาวให้สิทธิ์ขาดกับ ABC แต่เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ผลิตชั้นนำของฮอลลีวู้ดรายแรกที่ทำแบบนั้น
รายการโทรทัศน์โปรแกรม ดิสนีย์แลนด์ ซึ่งมีวอลท์ ดิสนีย์เป็นพิธีกร มีตัวการ์ตูนต่างๆ และภาพยนตร์สารคดีธรรมชาติมาออกอากาศประเดิมในปี 1954 หลังจากนั้นความมหัศจรรย์ของดิสนีย์ ก็สร้างความพิศวงผ่านทางจอเล็ก ในช่วงฤดูกาลแรกที่ออกอากาศ รายการนี้สามารถทำเรตติ้งตามการจัดอันดับของนีลสัน อันดับที่ 41 อย่างน่าแปลกใจ ซึ่งหมายความว่า มีคนดูแวะเวียนเข้ามาชมรายการของเขาประมาณ 30.8 ล้านคน จากทั้งหมด 75 ล้านคน
ปีถัดมา ดิสนีย์ก็สร้างชมรมมิคกี้ เมาส์ ซึ่งก็ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางโทรทัศน์ ดึงดูดผู้ชมทั้งเด็กและวัยรุ่นอย่างมากมาย นอกเหนือจากสร้างดาราเด็กแสดงเป็นหนูอย่างแอนเนต ฟูนิเซลโลขึ้นมาแล้ว รายการนี้ยังดันยอดขายสิทธิ์สัมปทานผลิตภัณฑ์ของดิสนีย์ให้พุ่งลิ่วอีกด้วย ช่วงที่รายการได้รับความนิยมสูงตอนกลางทศวรรษ 1950 สินค้าเป็นหูของมิคกี้ เมาส์ สามารถจำหน่ายได้ถึงวันละประมาณ 25,000 ชุด
วอลท์ ดิสนีย์ จะให้เสี้ยวหนึ่งแห่งโลกจินตนาการของเขาแก่ผู้ชม ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำเสมอ แต่เขาก็ต้องการวิธีดึงจินตนาการของเขาออกมาโลดแล่นมีชีวิตอย่างแท้จริง เขาตัดสินใจแยกจากความบันเทิงผ่านสื่อทั้งหลายด้วยความห้าวหาญ หันมามุ่งมุ่นตั้งใจสร้างสวนสนุกขึ้นมาแห่งหนึ่ง ดิสนีย์ได้รับแนวคิดนี้ระหว่างมองบุตรสาวสองคนของเขาเล่นม้าหมุน
ในขณะที่ดิสนีย์แลนด์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง บริษัทต่างๆก็เริ่มตระหนักถึงโอกาสทางการค้าของสวนสนุกแห่งนี้ และยอมจ่ายเพื่อเช่าหรือซื้อสัมปทานพื้นที่จำหน่ายสินค้าของตนเอง หรือมิฉะนั้นก็เพื่อให้ชื่อของตนเองปรากฏอยู่บนของเล่นในสวนสนุกเพื่อประชาสัมพันธ์
ดิสนีย์แลนด์กลายเป็นสวนสนุกให้ความบันเทิงใหญ่สุดของประเทศ เปิดโอกาสให้คนอเมริกันได้สัมผัสกับบรรยากาศสวนสนุกสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำให้คนอเมริกันได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งประดิษฐ์ การเปิดสวนสนุกของดิสนีย์แลนด์ได้จังหวะเหมาะสม เพราะประเทศอเมริกากำลังอยู่ในระหว่างยุคประชากรเบ่งบาน เด็กที่เกิดระหว่างปี 1946-1964 เพิ่มขึ้นวันละ 10,000 คน ทำให้ทั่วประเทศมีเด็กถึง 76.4 ล้านคน ทั้งหมดหลั่งไหลไปดิสนีย์แลนด์พร้อมผู้ปกครอง
ก่อนเปิดสวนสนุก บริษัทวอลท์ ดิสนีย์ โปรดักชั่น มีส่วนได้ส่วนเสียในดิสนีย์แลนด์อยู่แค่ 1 ใน 3 แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว และเขาได้ขยายอาณาจักร เริ่มต้นด้วยการวางแผนสร้างดิสนีย์ เวิลด์ ในปี 1958 ใน ฟลอริดา และต่อมาก็ได้ขยายไปยังต่างประเทศ
สวนสนุกมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์แห่งนี้ เปิดให้เข้าชมได้ในปี 1971 ดิสนีย์ เวิลด์ ไม่ใช่แค่ก็อปปี้ของดิสนีย์แลนด์แห่งชายฝั่งตะวันตกเท่านั้น แต่เป็นจุดบันดาลใจในฐานะแบบอย่างการวางผังเมือง มีรีสอร์ทที่พักในบริเวณ,โรงแรมและมีศูนย์ EPCOT (Experimental Prototype Community of Tomorrow) ซึ่งเป็นศูนย์ทางด้านการศึกษา ที่จัดสภาพแวดล้อมเหมือนโลกอนาคต มีซุ้มพลับพลาต่างๆ จัดแสดงประเทศต่างๆเอาไว้
ในด้านภาพยนตร์นั้น เขาเรียนรู้ในเวลาต่อมาว่า คนรุ่นต่อๆมาก็สามารถจะนำเอาภาพยนตร์ของครอบครัวกลับมาดูกันใหม่ ราวกับเป็นของใหม่เอี่ยม สำหรับผู้ชมการ์ตูนนั้น เขากำหนดคนแต่ละรุ่นไว้ว่าห่างกันประมาณ 7 ปี และมีการทำเป็นวีดีโอ จัดจำหน่าย สร้างรายได้แต่ละเรื่องเป็นร้อยล้านดอลลาร์
วอลท์ ดิสนีย์ ไม่ได้มีอายุยืนยาวจนทันเห็นดิสนีย์ เวิลด์ สร้างเสร็จ เขาเป็นเหยื่อมะเร็งในปอด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ปี 1966 ด้วยวัย 65 ปี เขาทิ้งบริษัทให้กลายเป็นเสมือนหนึ่งอนุสาวรีย์ของเขา และทิ้งบริษัทที่กลายเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ออกของครอบครัวชาวอเมริกัน